Virtual Reality Therapy: นวัตกรรมการดูแลใจด้วยเครื่อง VR
หากพูดถึง “การบำบัดทางจิตใจ” หลายคนจะนึกภาพเป็นการนั่งพูดคุยกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา
ในปัจจุบันที่มีวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีแล้ว การบำบัดทางจิตใจและพฤติกรรม ก็ได้เป๋นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการนี้เช่นกัน จนมาถึงเครื่องมือการบำบัดรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า VR Therapy
Virtual Reality Therapy: VR Therapy
การบำบัดด้วยความเป็นจริงเสมือนคือการใช้สภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่จำลองขึ้นเป็นเครื่องมือสำหรับการใช้งานด้านการดูแลสุขภาพทางร่างกายหรือจิตใจ การบำบัดด้วย VR กลายเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์
พูดง่ายๆก็คือ พอสวมเครื่อง VR ลงไป เราก็จะพบกับสถานการณ์หรือเกมจำลองสำหรับการบำบัด
กรณีศึกษา: Breathe Therapies
https://www.breathetherapies.co.uk/vr-therapy/vr-therapy-treatments/
การใช้ VR ดีต่อการบำบัดหรือไม่
การผสมผสานเทคโนโลยี VR เข้ากับการบำบัด (Therapy) เพิ่มความสะดวกสบายและประสิทธิผลของการรักษาความวิตกกังวล การบำบัดด้วย Virtual Reality Exposed Therapy (VRET) ให้ผู้ใช้งานได้เข้ารับการบำบัดรายบุคคล โดยผู้ใช้งาน (Client) จะสามารถควบคุมสถานการณ์และเรียนรู้เหตุการณ์ต่างๆ ด้วยตนเองได้ โดยผู้ให้คำปรึกษา ทั้งจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักจิตบำบัด สามารถนำไปใช้ได้ง่าย และมักจะเป็นที่พึงพอใจของผู้ป่วยมากกว่าการสัมผัสร่างกายหรือการจินตนาการ
Virtual Reality หรือความเป็นจริงเสมือน ในการบำบัดจะมีสภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่ช่วยให้จิตแพทย์จัดการกับอาการของผู้รับคำปรึกษา (Client) ทั้งความกลัว โรคกลัวที่แคบ วิตกกังวล ซึมเศร้า ความเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD) โดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่พวกเขาสามารถเผชิญกับสถานการณ์ความท้าทายและอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยกับร่างกายและจิตใจ
ผู้รับบริการ (Client) สามารถทดลองจนมั่นใจว่าเป็นสภาพแวดล้อมเสมือนจริงและปราศจากความเสี่ยง ซึ่งสามารถหยุดได้ตามสถานการณ์ โดยเทคนิคต่างๆ เช่น การบำบัดด้วยการสัมผัส ทำให้ความเป็นจริงเสมือนในการดูแลสุขภาพเป็นที่ชื่นชอบสำหรับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพอื่นๆ นอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อการเพิ่มประสบการณ์การรักษาโดยภาพรวม ซึ่งเป็นที่น่าพอใจของผู้รับบริการ (Client) อย่างมาก นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นจริงเสมือน (VR Technology) ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพและประสบการณ์การเข้าพักในโรงพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ และในอนาคต Application และ VR Software อาจมีบทบาทในการบรรเทาความเจ็บปวดของแขนขา ด้วยระบบเซ็นเซอร์กับระบบประสาทและสมอง
ข้อเสียของการใช้ VR Therapy
- ต้นทุนของอุปกรณ์สูง แต่เมื่อเทคโนโลยีปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ค่าใช้จ่ายก็จะลดลงอย่างต่อเนื่อง
- การใช้ VR เป็นเวลานาน สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรือปวดศีรษะ เป็นต้น
เราจะนำ VR Tech มาพัฒนาได้อย่างไร?
จากหลายบทความที่ผู้เขียนได้ค้นคว้า พบว่า การสร้าง VR Therapy นั้นพัฒนาการการทำงานร่วมกันระหว่างนักพัฒนา VR Tech จิตแพทย์ และนักจิตวิทยา
โดยกรณีศึกษาของ Prious การพัฒนาการบำบัดด้วย VR ควรเริ่มต้นด้วยสถานการณ์จำลองที่เป็นต้นเหตุที่นำไปสู่ปัญหาทางจิตใจ เช่น การกลั่นแกล้ง การล้อเลียน
แล้วพัฒนาเป็นแบบจำลองโดยให้ผู้ใช้งาน (Client) เลือกคำตอบตามทางเลือกต่างๆ
ในช่วงแรก การบำบัดด้วย VR ควรได้รับการพัฒนาร่วมกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อประเมินความเสี่ยงของการตัดสินใจเลือกทางเลือกในสถานการณ์ต่างๆ
การบำบัดแบบ VR Therapy จะให้ประสบการณ์ที่ดีกว่ากับผู้รับคำปรึกษาไหม (Client)
การบำบัดด้วย VR (VR Therapy) สามารถช่วยให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า (Depression) ความเครียดภายหลังจากเหตุการณ์ที่ร้ายแรง (PTSD) หรือความเจ็บปวดทางจิตใจจากการกลั่นแกล้ง ความผิดปกติของการกิน ความวิตกกังวล ความรุนแรงทางเพศ
ส่วนตัวแล้วผู้เขียนมีความเห็นว่า VR Therapy เข้ามาช่วยผู้ให้คำปรึกษาทั้งจิตแพทย์ นักจิตวิทยา ในการบำบัดดูแลจิตใจของผู้รับบริการได้อีกทาง เนื่องจากบางเคสอาจจะเป็นผู้ที่สนใจในสถานการณ์จำลองผ่าน VR เป็นทุนเดิม หรือ ผู้ที่กังวลที่จะพูดคุยกับคนแปลกหน้า เนื่องจาก VR สามารถจำลองสถานการณ์และมีตัวเลือกในการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ อาจให้ผู้ใช้งาน (Client) ค่อยๆเรียนรู้จากสถานการณ์จำลองเหล่านั้น
แต่ในทางกลับกัน VR สามารถขัดขวางการสัมผัสรับรู้และนำไปสู่อาการข้างเคียงต่างๆ เช่น คลื่นไส้ เวียนศีรษะ เหงื่อออก หน้าซีด เสียการทรงตัว ฯลฯ โดยการอาการเหล่านี้เรียกว่า “Virtual Reality sickness” นอกจากนี้กลุ่มคนที่ไม่ควรใช้เทคโนโลยีเหล่านี้คือ คนที่เป็นโรคลมชัด หรือใครก็ตามที่ระบุว่ามีความเสี่ยง เช่น สตรีมีครรภ์ ผู้ที่เมารถหรือมีปัญหาเรื่องการทรงตัว หรืออ่อนแอต่อไมเกรน เป็นต้น
แหล่งอ้างอิง และข้อมูลเพื่อศึกษาเพิ่มเติม
เอกสารงานวิจัย
- 2018 Economic analysis of implementing virtual reality therapy for pain among hospitalized patients https://www.nature.com/articles/s41746-018-0026-4
- 2019 Virtual reality exposure therapy for posttraumatic stress disorder (PTSD): a meta-analysis https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6713125/
งานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ VR สำหรับการบำบัดโรควิตกกังวล
- 2019 Using Virtual Reality Exposure Therapy to Enhance Treatment of Anxiety Disorders: Identifying Areas of Clinical Adoption and Potential Obstacles https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpsyt.2019.00773/full#:~:text=Incorporating%20VR%20in%20therapy%20can,in%20vivo%20or%20imaginal%20exposure.
- 2018 The effectiveness of virtual reality-based interventions for symptoms of anxiety and depression: A meta-analysis https://www.nature.com/articles/s41598-018-28113-6
- Virtual Reality Therapy in Social Anxiety Disorder https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7220867/
- STUDY PROTOCOL: EXPOSURE IN VIRTUAL REALITY FOR SOCIAL ANXIETY DISORDER https://bmcpsychiatry.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12888-020-2453-4
- The Effectiveness of Self-Guided Virtual-Reality Exposure Therapy for Public-Speaking Anxiety https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpsyt.2021.694610/full
บทความ
เกี่ยวกับการใช้ VR สำหรับการบำบัดโรคซึมเศร้า
- How Virtual Reality Can Help Depression https://elarasystems.com/vr-helps-depression/
- Can virtual reality boost positive feelings in patients with depression?https://www.statnews.com/2019/04/22/using-virtual-reality-boost-positive-feelings-patients-depression/
- Virtual Reality Therapy Aids in Suicide Prevention Training in the Air Force https://fedtechmagazine.com/article/2021/12/virtual-reality-therapy-aids-suicide-prevention-training-air-force-perfcon
บทความอื่นๆ เกี่ยวกับ VR Therapy
- VIRTUAL REALITY THERAPY https://www.ottawacbt.ca/virtual-reality-therapy
- Virtual Reality Therapy: Treating The Global Mental Health Crisis https://techcrunch.com/2016/01/06/virtual-reality-therapy-treating-the-global-mental-health-crisis/
- What Is Virtual Reality Therapy? The Future of Psychology https://positivepsychology.com/virtual-reality-therapy/
- Pros and Cons of Virtual Reality https://filmora.wondershare.com/virtual-reality/pros-cons-virtual-virtual.html
- VR Therapy Cost Analysis https://www.svrt.org/vr-therapy-cost-analysis
- Virtual Reality Might Be the Next Big Thing for Mental Health https://blogs.scientificamerican.com/observations/virtual-reality-might-be-the-next-big-thing-for-mental-health/
- What are the risks of virtual reality and augmented reality, and what good practices does ANSES recommend? https://www.anses.fr/en/content/what-are-risks-virtual-reality-and-augmented-reality-and-what-good-practices-does-anses#:~:text=Short%2Dterm%2C%20reversible%20and%20limited,term%20%22virtual%20reality%20sickness%22.
ผู้เขียน : นางสาวพันธุ์ทิพา สุขสิริสรณ์
- วิทยาศาสตรบัณฑิต (จิตวิทยา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- การจัดการมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาองค์การและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- Founder, Patriny และ Blissful Uni
- Co-Founder, BE PSY YOU