Virtual Reality Therapy: นวัตกรรมการดูแลใจด้วยเครื่อง VR

Panthipa Suksirisorn
3 min readAug 24, 2023

--

หากพูดถึง “การบำบัดทางจิตใจ” หลายคนจะนึกภาพเป็นการนั่งพูดคุยกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา

Cr. Freepik

ในปัจจุบันที่มีวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีแล้ว การบำบัดทางจิตใจและพฤติกรรม ก็ได้เป๋นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการนี้เช่นกัน จนมาถึงเครื่องมือการบำบัดรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า VR Therapy

Virtual Reality Therapy: VR Therapy

การบำบัดด้วยความเป็นจริงเสมือนคือการใช้สภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่จำลองขึ้นเป็นเครื่องมือสำหรับการใช้งานด้านการดูแลสุขภาพทางร่างกายหรือจิตใจ การบำบัดด้วย VR กลายเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์

พูดง่ายๆก็คือ พอสวมเครื่อง VR ลงไป เราก็จะพบกับสถานการณ์หรือเกมจำลองสำหรับการบำบัด

Cr. Freepik

กรณีศึกษา: Breathe Therapies
https://www.breathetherapies.co.uk/vr-therapy/vr-therapy-treatments/

การใช้ VR ดีต่อการบำบัดหรือไม่

การผสมผสานเทคโนโลยี VR เข้ากับการบำบัด (Therapy) เพิ่มความสะดวกสบายและประสิทธิผลของการรักษาความวิตกกังวล การบำบัดด้วย Virtual Reality Exposed Therapy (VRET) ให้ผู้ใช้งานได้เข้ารับการบำบัดรายบุคคล โดยผู้ใช้งาน (Client) จะสามารถควบคุมสถานการณ์และเรียนรู้เหตุการณ์ต่างๆ ด้วยตนเองได้ โดยผู้ให้คำปรึกษา ทั้งจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักจิตบำบัด สามารถนำไปใช้ได้ง่าย และมักจะเป็นที่พึงพอใจของผู้ป่วยมากกว่าการสัมผัสร่างกายหรือการจินตนาการ

Virtual Reality หรือความเป็นจริงเสมือน ในการบำบัดจะมีสภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่ช่วยให้จิตแพทย์จัดการกับอาการของผู้รับคำปรึกษา (Client) ทั้งความกลัว โรคกลัวที่แคบ วิตกกังวล ซึมเศร้า ความเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD) โดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่พวกเขาสามารถเผชิญกับสถานการณ์ความท้าทายและอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัยกับร่างกายและจิตใจ

ผู้รับบริการ (Client) สามารถทดลองจนมั่นใจว่าเป็นสภาพแวดล้อมเสมือนจริงและปราศจากความเสี่ยง ซึ่งสามารถหยุดได้ตามสถานการณ์ โดยเทคนิคต่างๆ เช่น การบำบัดด้วยการสัมผัส ทำให้ความเป็นจริงเสมือนในการดูแลสุขภาพเป็นที่ชื่นชอบสำหรับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพอื่นๆ นอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อการเพิ่มประสบการณ์การรักษาโดยภาพรวม ซึ่งเป็นที่น่าพอใจของผู้รับบริการ (Client) อย่างมาก นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นจริงเสมือน (VR Technology) ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อคุณภาพและประสบการณ์การเข้าพักในโรงพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพ และในอนาคต Application และ VR Software อาจมีบทบาทในการบรรเทาความเจ็บปวดของแขนขา ด้วยระบบเซ็นเซอร์กับระบบประสาทและสมอง

ข้อเสียของการใช้ VR Therapy

  1. ต้นทุนของอุปกรณ์สูง แต่เมื่อเทคโนโลยีปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ค่าใช้จ่ายก็จะลดลงอย่างต่อเนื่อง
  2. การใช้ VR เป็นเวลานาน สามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรือปวดศีรษะ เป็นต้น

เราจะนำ VR Tech มาพัฒนาได้อย่างไร?

จากหลายบทความที่ผู้เขียนได้ค้นคว้า พบว่า การสร้าง VR Therapy นั้นพัฒนาการการทำงานร่วมกันระหว่างนักพัฒนา VR Tech จิตแพทย์ และนักจิตวิทยา
โดยกรณีศึกษาของ Prious การพัฒนาการบำบัดด้วย VR ควรเริ่มต้นด้วยสถานการณ์จำลองที่เป็นต้นเหตุที่นำไปสู่ปัญหาทางจิตใจ เช่น การกลั่นแกล้ง การล้อเลียน
แล้วพัฒนาเป็นแบบจำลองโดยให้ผู้ใช้งาน (Client) เลือกคำตอบตามทางเลือกต่างๆ
ในช่วงแรก การบำบัดด้วย VR ควรได้รับการพัฒนาร่วมกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อประเมินความเสี่ยงของการตัดสินใจเลือกทางเลือกในสถานการณ์ต่างๆ

การบำบัดแบบ VR Therapy จะให้ประสบการณ์ที่ดีกว่ากับผู้รับคำปรึกษาไหม (Client)

การบำบัดด้วย VR (VR Therapy) สามารถช่วยให้ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า (Depression) ความเครียดภายหลังจากเหตุการณ์ที่ร้ายแรง (PTSD) หรือความเจ็บปวดทางจิตใจจากการกลั่นแกล้ง ความผิดปกติของการกิน ความวิตกกังวล ความรุนแรงทางเพศ

ส่วนตัวแล้วผู้เขียนมีความเห็นว่า VR Therapy เข้ามาช่วยผู้ให้คำปรึกษาทั้งจิตแพทย์ นักจิตวิทยา ในการบำบัดดูแลจิตใจของผู้รับบริการได้อีกทาง เนื่องจากบางเคสอาจจะเป็นผู้ที่สนใจในสถานการณ์จำลองผ่าน VR เป็นทุนเดิม หรือ ผู้ที่กังวลที่จะพูดคุยกับคนแปลกหน้า เนื่องจาก VR สามารถจำลองสถานการณ์และมีตัวเลือกในการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ อาจให้ผู้ใช้งาน (Client) ค่อยๆเรียนรู้จากสถานการณ์จำลองเหล่านั้น

แต่ในทางกลับกัน VR สามารถขัดขวางการสัมผัสรับรู้และนำไปสู่อาการข้างเคียงต่างๆ เช่น คลื่นไส้ เวียนศีรษะ เหงื่อออก หน้าซีด เสียการทรงตัว ฯลฯ โดยการอาการเหล่านี้เรียกว่า “Virtual Reality sickness” นอกจากนี้กลุ่มคนที่ไม่ควรใช้เทคโนโลยีเหล่านี้คือ คนที่เป็นโรคลมชัด หรือใครก็ตามที่ระบุว่ามีความเสี่ยง เช่น สตรีมีครรภ์ ผู้ที่เมารถหรือมีปัญหาเรื่องการทรงตัว หรืออ่อนแอต่อไมเกรน เป็นต้น

แหล่งอ้างอิง และข้อมูลเพื่อศึกษาเพิ่มเติม

เอกสารงานวิจัย

งานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ VR สำหรับการบำบัดโรควิตกกังวล

บทความ

เกี่ยวกับการใช้ VR สำหรับการบำบัดโรคซึมเศร้า

บทความอื่นๆ เกี่ยวกับ VR Therapy

ผู้เขียน : นางสาวพันธุ์ทิพา สุขสิริสรณ์

  • วิทยาศาสตรบัณฑิต (จิตวิทยา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • การจัดการมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาองค์การและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • Founder, Patriny และ Blissful Uni
  • Co-Founder, BE PSY YOU

--

--

Panthipa Suksirisorn
Panthipa Suksirisorn

Written by Panthipa Suksirisorn

Life Lecture in Psychology & Mental Health Ecosystem

No responses yet